ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร ณ มิถุนายน 2566


ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร ณ มิถุนายน 2566
AREA แถลง ฉบับที่ 649/2566: วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส [email protected] https://www.facebook.com/dr.sopon4

มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นการดำริของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิฯ ให้มีการปรับปรุงทุก 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินค่าทรัพย์สิน และสำหรับประชาชน และนักลงทุนทั่วไปได้ใช้ต่อไป

ในการดำเนินการของมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากทางราชการและภาคสนามมาดำเนินการจัดทำราคาค่าก่อสร้าง และต่อไปนี้เป็นรายงานการเปลี่ยนแปลงราคาค่าก่อสร้างล่าสุด (มิถุนายน 2566)

ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 4.95%

ซิเมนต์ 11.36%

ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 16.33%

เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 30.05%

กระเบื้อง 7.31%

วัสดุฉาบผิว 3.15%

สุขภัณฑ์ 2.12%

อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 12.28%

วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 12.44%

รวม 100.00%

สำหรับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566-มิถุนายน 2566 (ไตรมาสที่ 1 ปี 66-ไตรมาสที่ 2 ปี 66) สรุปว่ามีการลดลง เฉลี่ย -0.50% โดยปัจจัยสำคัญก็คือ วัสดุก่อสร้างหมวดที่ลดลง ได้แก่ เหล็ก ลดลง -1.80% อุปกรณ์ไฟฟ้าลดลง -0.48% วัสดุก่อสร้างอื่นๆ ลดลง -0.68% วัสดุก่อสร้างหมวดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพิ่มขึ้น +0.45% กระเบื้อง เพิ่มขึ้น +0.64% สุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้น +0.40% วัสดุก่อสร้างหมวดที่คงที่ ไม้ และซีเมนต์ โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้:

ดัชนีรวม -0.50%

ไม้ 0.00%

ซีเมนต์ 0.00%

ผลิตภัณฑ์คอนกรีต +0.45%

เหล็ก -1.80%

กระเบื้อง +0.64%

วัสดุฉาบผิว + 1.60%

สุขภัณฑ์ + 0.40%

อุปกรณ์ไฟฟ้า – 0.48%

วัสดุก่อสร้างอื่นๆ -0.68%

ค่าวัสดุข้างต้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ราคาค่าก่อสร้างยังประกอบด้วยค่าแรง และภาษีและค่าดำเนินการต่าง ๆ ดังนั้นค่าก่อสร้างที่แท้จริง เพิ่มขึ้น -0.30% ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้:

1. ค่าวัสดุ 60% -0.50% 59.70%

2. ค่าแรง 20% +0.00% 20.00%

3. กำไร ภาษีและค่าดำเนินการ 20% +0.00% 20.00%

100% 99.70%

สรุป -0.30%

โดยสรุปแล้วการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของทางราชการของเดือนมิถุนายน 2566 มีผลออกมาดังนี้:

สรุปการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ของเดือนมิถายน 2566

1. พิจารณาโดยเทียบเคียงกับเดือนมีนาคม 2566 (มีนาคม 2566-มิถุนายน 2566)

2. จากการเทียบดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมีนาคม 2566-มิถุนายน 2566 ปรากฏราคาวัสดุก่อสร้างเมื่อวิเคราะห์แล้ว ปรับลดลง -0.50% โดยราคาวัสดุที่ราคาปรับลดลง ได้แก่ เหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างอื่นๆ วัสดุก่อสร้างหมวดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ วัสดุก่อสร้างหมวดที่คงที่ ได้แก่ ไม้ ซีเมนต์ เมื่อพิจารณารวมราคาวัสดุทุกกลุ่ม ภาพรวมราคาค่าวัสดุปรับลดลง -0.50%

3. ค่าแรงงาน พิจารณาเท่าเดิม

4. กำไรภาษี ค่าดำเนินการ พิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่ม

5. เมื่อวิเคราะห์ทั้งค่าวัสดุ และค่าแรงงาน กำไรภาษี ค่าดำเนินการ ทำให้ภาพรวมราคาค่าก่อสร้างอาคารปรับลดลง -0.30% ทั้งนี้เมื่อทำการนำมาปรับราคาค่าก่อสร้างอาคารแล้ว โดยรวมราคาค่าก่อสร้างไม่เปลี่ยนแปลง

รายละเอียดของราคาค่าก่อสร้างอาคารเป็นดังนี้: https://www.thaiappraisal.org/thai/value/value.php

เรียนรู้เพิ่มเติม: https://citly.me/6Dg8X

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย ([email protected]) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน



ลิงค์ที่มา