วิเคราะห์: การกีดกันทางการค้าทำให้ปัญหาขาดแคลนสินค้าดำเนินต่อไป


สถานการณ์ที่ประเทศต่างๆ ประสบปัญหาการขาดแคลนสินค้าอย่างหนัก ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนออกมาเตือนว่า โลกกำลังจะเข้าสู่ยุคที่ขาดแคลนทรัพยากรแล้ว

รายงานของสำนักข่าววีโอเอ เปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนได้ออกมาเตือนว่าโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคที่ขาดแคลนทรัพยากรแล้ว เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและกระแสการกีดกันทางค้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการที่สหรัฐฯ และประเทศพัฒนาต่างๆ มีปัญหาในการจัดหาสินค้าต่างๆ อย่างยากลำบาก ตั้งแต่เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จนถึงไมโครชิปของคอมพิวเตอร์เพื่อมารองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นมา หลังจากภาวะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทุเลาลง

The Economist นิตยสารชื่อดังของสหราชอาณาจักร ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในสัปดาห์นี้ และอธิบายว่า ปรากฏการณ์การขาดแคลนสินค้าในประเทศต่างๆ เกิดจากการเรียกเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นและกฎหมายทางค้าที่เข้มงวดของรัฐบาลเพื่อจะที่ลดการนำเข้าสินค้าและปกป้องตลาดภายในประเทศ

FILE - Empty shelves are seen in the meat aisle of Co-Op supermarket, Harpenden, Britain, Sept. 22, 2021.

FILE – Empty shelves are seen in the meat aisle of Co-Op supermarket, Harpenden, Britain, Sept. 22, 2021.

บทความดังกล่าวท้วงติงว่า นโยบายเหล่านี้ไม่ได้คิดถึงกลไกของเศรษฐกิจโลกและทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ขึ้น โดยยกตัวอย่างเช่น การที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ไม่ได้ยกเลิกอัตราการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนสูง ที่รัฐบาลอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้ไว้

อย่างไรก็ตาม นักต่อต้านการค้าเสรีหลายๆคนกลับรู้สึกยินดีถึงกระแสการกีดกันทางการค้า (economic protectionism) ที่เกิดขึ้น โดยให้เหตุผลว่าโลกาภิวัตน์ (globalization)ได้ทำให้ผู้คนในประเทศที่พัฒนาแล้วตกงานมากมาย ซ้ำยังก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกับทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย

การกีดกันทางการค้านั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และศูนย์ข้อมูลทางเศรษฐกิจของกรุงลอนดอน (Center for Economic Policy Research) ระบุว่า ในเวลานี้ กว่า 50% ของสินค้าที่ส่งออกสินค้าจากประเทศในกลุ่ม G-20 ถูกเรียกเก็บภาษีทางการค้า โดยสัดส่วนดังกล่าวเป็นการปรับขึ้นจากระดับ 20% เมื่อปี ค.ศ. 2009

ขณะนี้ รัฐบาลในหลายประเทศได้แสดงท่าทีที่ไม่ประสงค์จะลงนามข้อตกลงการค้าเสรีใหม่ๆ และเปลี่ยนกลยุทธ์มาเน้นเรื่องการพัฒนากำลังการผลิตภายในประเทศและการเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจในชาติของตนเองแทน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซีอีโอของบริษัทชั้นนำกว่า 17 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมประจำปีของ World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และย้ำถึงโอกาสที่ดีที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือทางการค้าและการลงทุนตามมุมต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ซึ่งเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวจากการระบาดของโคโรนาไวรัส

กลุ่มซีอีโอที่เข้าร่วมการประชุม WEF เห็นพ้องต้องกันว่า การค้าและการลงทุนนั้นมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาของมนุษยชาติ และการฟื้นตัวของนานาประเทศทั่วโลกนั้นจะเกิดขึ้นได้จากการฟื้นตัวของการค้า ขณะที่ รัฐบาลทั้งหลายต้องหันกลับมาประสานความร่วมมือด้านการค้าอีกครั้งอย่างสร้างสรรค์และหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้าด้วย

นอกจากนั้น ผู้บริหารทั้งหลายยังระบุว่า “การร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและทางสังคม จะนำไปสู่การประสานความร่วมมือทางการค้าที่จะช่วยป้องกันเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่งไม่ให้ตกอยู่ในภาวะย่ำแย่ ทั้งยังจะช่วยป้องกันการบิดเบือนตลาดที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสินค้าและบริการต่างๆ ขณะที่ ความร่วมมือทางการค้าจะสามารถช่วยพัฒนาปรับปรุงสมาชิกในสังคมที่ถูกมองข้ามและด้อยโอกาส ซึ่งรวมถึง สตรีและชนกลุ่มน้อย ได้”

FILE - President Joe Biden, right, listens as British Prime Minister Boris Johnson speaks during a meeting in the Oval Office of the White House, Sept. 21, 2021.

FILE – President Joe Biden, right, listens as British Prime Minister Boris Johnson speaks during a meeting in the Oval Office of the White House, Sept. 21, 2021.

แต่คำเรียกร้องให้มีการร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ นั้น ยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยดูได้จากกรณีที่ ปธน.ไบเดน ส่งสัญญาณว่า ความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับสหราชอาณาจักร หลังถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ เบร็กซิต นั้นยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยผู้นำสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตนจะหารือเรื่องดังกล่าว “บ้าง” กับ นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ของอังกฤษ ระหว่างการเดินทางเยือนทำเนียบขาวและร่วมหารือในระดับทวิภาคีเมื่อเดือนที่แล้ว แม้ฝั่งผู้นำสหราชอาณาจักรจะแสดงความกระตือรือร้นที่จะผลักดันให้เกิดข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม

และแม้ผู้นำสหราชอาณาจักรจะแสดงความกระตือรือร้นที่จะผลักดันให้เกิดข้อตกลงดังกล่าวขึ้นก็ตาม นายกรัฐมนตรี จอห์นสัน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวหลังการประชุมกับผู้นำสหรัฐฯ ว่า ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-สหราชอาณาจักรนั้น “ไม่ใช่แผนงานที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ” สำหรับรัฐบาลปธน.ไบเดน



ลิงค์ที่มา

© 2018-2025 Thailand Net24 News