Milieu Insight เผย 6 ใน 10 คุณแม่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียง…


สิงคโปร์, 8 พฤษภาคม 2567 – คุณแม่ที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการบริหารเวลามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างคภาระหน้าที่ในด้านการงานและเรื่องส่วนตัว ตามข้อมูลจาก Milieu Insight บริษัทซอฟต์แวร์การวิจัยตลาดชั้นนำ ได้เผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับมารดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่ทำงาน เนื่องในโอกาสวันแม่

แม้ว่าผู้หญิงในตลาดแรงงานจะได้รับโอกาสนับไม่ถ้วน แต่หลายคนก็เผชิญกับความท้าทายมากมาย จากรายงานของ McKinsey & Company1 พบว่ามีผู้หญิงมีส่วนร่วมประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ของเอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก และยังมีโอกาสอีกมากมายสำหรับผู้หญิงที่จะเพิ่มสัดส่วนในการส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาค

การศึกษาเชิงปริมาณที่ดำเนินการโดย ผ่านชุมชนผู้ตอบแบบสอบถามของ Milieu Insight ได้สอบถามความคิดเห็นของคุณแม่ที่ทำงานจำนวน 3,000 คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย

“แม้ว่าผู้หญิงจะมีส่วนสนับสนุนในการเติบโตทางเศรฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สัดส่วนในตำแหน่งผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงก็ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าสัดส่วนของผู้หญิงทำงานในภาพตลาดงานโดยรวม การศึกษาของเราชี้ให้เห็นถึงความท้าทายของผู้หญิงที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวันนี้ รวมถึงความสมดุลที่ยากจะจัดการระหว่างงาน และภาระผูกพันทางครอบครัว การดูแลตนเองท่ามกลางตารางงานที่วุ่นวาย และความรู้สึกผิดเมื่อให้ความสำคัญกับเรื่องงานมาก่อน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอุปสรรคเหล่านี้ คุณแม่ที่ทำงานในเอเชีย ก็พยายามปรับและใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อดำเนินชีวิตที่ซับซ้อนทั้งในด้านส่วนตัวและด้านอาชีพกันอย่างไม่ท้อถอย ในขณะที่เราเฉลิมฉลองวันแม่สากลนี้ ขอให้เราได้รับรู้และยกย่องถึงความแข็งแกร่งและการเสียสละอันยิ่งใหญ่ของผู้เป็นแม่” กล่าวโดย จุดา คณาปราชญ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ของ Milieu Insight


การจัดสรรความลงตัวที่สุดหิน: งาน หรือ ครอบครัว

บรรดาคุณแม่ที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะสร้างสมดุลให้กับทุกเรื่อง แม้ว่าโลกของการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม ผู้หญิง 6 ใน 10 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบปัญหาในการจัดการเวลาที่เพียงพอให้กับครอบครัว และเพียงพอกับงานที่ทำ

ในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนเป็นแม่ชาวอเมริกัน มีการจัดการงานและครอบครัวในรูปแบบที่แตกต่างไป แต่เมื่อพูดถึงการจ้างงาน ความเป็นแม่กลายเป็นอุปสรรคในตลาดงาน ดูได้จากอัตราการจ้างงานเต็มเวลาของคนเป็นแม่ ต้องใช้เวลานานกว่าทศวรรษที่จะเห็นตัวเลขกลับมาเป็น 50%2

การดูแลตัวเองที่หาเวลาไม่ได้

นอกเหนือจากความท้าทายเหล่านี้แล้ว ยังมีเรื่องการดูแลตัวเอง ที่คนเป็นแม่หลายคนมักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ลืมไปได้เลย” ความรับผิดชอบที่จะทำงานให้ได้ดี และการทำหน้าที่แม่ให้สมบูรณ์ในทุกๆวัน มันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะหาเวลามาไปทำสวย หรือดูแลสุขภาพฟอย่างจริงจัง เราพบว่า 42% ของผู้หญิงสิงคโปร์และเวียดนาม รายงานว่าการจัดลำดับความสำคัญความเป็นอยู่ของตนเองเป็นเรื่องยากมากขึ้น เมื่อต้องรับมือกับการแข่งขันในที่ทำงาน และยังต้องมีความรับผิดชอบในบทบาทของคนเป็นแม่ที่บ้าน ซึ่งสัดส่วนนี้เกินค่าเฉลี่ยในภาพรวมของภูมิภาคที่มีอยู่ 31%

การวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า 44% ของผู้ตอบแบบสอบถาม อยากให้ผู้คนเข้าใจความยากลำบากที่พวกเขาเผชิญในฐานะที่เป็นแม่ที่ต้องทำงานไปด้วยมากขึ้น

การขาดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อสนับสนุนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีนั้นเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดย 53% ของคนเป็นแม่ ที่ตอบแบบสอบถาม รู้สึกเป็นกลางหรือไม่พอใจกับนโยบายการลาคลอดบุตรในประเทศของตน การจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการดูแลตนเอง และการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีสำหรับคนเป็นแม่ สามารถช่วยบรรเทาความเครียดของคุณแม่ทำงาน และส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของพวกเขา


1 ใน 5 ของคุณแม่ที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้สึกถึงผลกระทบต่อหน้าที่การงาน

1 ใน 5 ของคุณแม่ที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้สึกว่า การเป็นแม่มีผลกระทบในทางลบต่ออาชีพของพวกเธอ โดยสัดส่วนพบที่สูงที่สุดอยู่ที่สิงคโปร์คือ 40% แนวโน้มนี้อาจสอดคล้องกับความจริงที่ว่า 66% ของคุณแม่ที่ทำงานในภูมิภาคนี้ต้องรับผิดชอบงานบ้านจำนวนมาก ไหนจะต้องดูแลลูก ดูแลสามี ทำความสะอาดบ้าน ทำงานบ้านอื่นๆ และจัดทำอาหารให้กับคนในครอบครัวด้วย

ตัวเลขที่น่าสนใจอีกอันหนึ่งคือ ในสิงคโปร์พบว่า มีสัดส่วนของผู้หญิงที่รับผิดชอบดูแลบ้านแต่เพียงผู้เดียว อยู่ที่ 19% ซึ่งค่อนข้างต่ำมาก เมื่อเทียบกับ ตัวเลขในอินโดนีเซีย โดยที่ผู้หญิงในอินโดนีเซีย 43% แบกรับความรับผิดชอบในการดูแลบ้านเพียงลำพัง

ต่อให้รับมือได้ ถ้าเลือกเวลาทำงานแบบยึดหยุ่นได้ก็คงช่วยได้มาก

55% ของคุณแม่ที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เทคนิคการบริหารเวลาแบบทันสมัย เพื่อจัดการกับความซับซ้อนของระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ด้วยการที่สิงคโปร์นำแนวทางการจัดการงานที่ยืดหยุ่นใหม่มาใช้ รวมถึงตัวเลือกการทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2024 แนวทางใหม่นี้นำเสนอวิธีการที่ก้าวหน้าในการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมตารางเวลาของตนเองได้มากขึ้น

68% ของคุณแม่ที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อว่า การทำงานที่บ้านและการเลือกเวลทำงานที่ยืดหยุ่นได้ จะช่วยเพิ่มความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการเติบโตทางอาชีพ โดยคนส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ (75%) และฟิลิปปินส์ (77%) มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน

ความจำเป็นที่ต้องขยายวันลาคลอดแบบที่ไม่ต้องโดนเพ่งเล็ง

ประมาณ 1 ใน 2 ของคุณแม่ที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องขยายเวลาลาคลอดหรือใช้การลาที่ไม่ได้รับค่าจ้างเพื่อดูแลลูกของพวกเธอ โดยเวียดนามมีเปอร์เซ็นต์สูงสุด (59%)

54% ของคุณแม่ที่ทำงานในสิงคโปร์ต้องการนโยบายการขยายวันลาคลอดบุตร เพื่อเป็นการช่วยเหลือคุณแม่ทำงานมากขึ้นเนื่องจากการลาคลอดที่ได้รับค่าจ้างได้ถูกจำกัดไว้ที่ 16 สัปดาห์ในสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ในบางบริษัท มีการตีตราคุณแม่ที่หยุดงานไปดูแลลูก เหมือนมีบทลงโทษพ่อแม่ที่ใช้วันลาคลอด

การวิจัยของ Milieu Insight ชี้ให้เห็นว่าด้วยความไม่แบ่งแยก ความยืดหยุ่นในเรื่องเวลาการทำงาน รวมไปถึงสถานที่ทำงานที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้แม่มีลูก จะช่วยให้คนเป็นแม่ทำงานสามารถทำหน้าที่ในหน้าที่การงานของตนได้อย่างยอดเยี่ยมไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะมารดาไปด้วย

การศึกษาวิจัยนี้ดำเนินการผ่านชุมชนผู้ตอบแบบสอบถามของ Milieu Insight โดยนำเสนอความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับผู้หญิงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่ทำงาน โดยเน้นข้อมูลเชิงลึกและพฤติกรรมที่สำคัญ เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 12 เมษายน พ.ศ. 2567



Source link