วิธีการขอใช้ไฟฟ้าทางการเกษตร

สำหรับไฟฟ้าเกษตร แตกต่างจากไฟฟ้าปกติที่ใช้ในครัวเรือน เพราะไฟฟ้าเกษตรจะใช้เฉพาะกลุ่มที่มีการทำเกษตร ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นคนที่จะขอใช้ได้ต้องเป็นชาวเกษตรที่มีพื้นที่สวนไร่นาเป็นของตัวเองพร้อมมีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิถึงจะทำเรื่องเข้าไปขอใช้ไฟเกษตรนี้ได้ และแน่นอนว่าการขอไฟฟ้าเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงความสะดวกกับเครื่องทุ่นแรงที่ต้องใช้ไฟฟ้า แต่อีกนัยยะหนึ่งคือการลดรายจ่ายที่น้อยลง เพราะไฟฟ้าเกษตรจะมีราคาถูกกว่าไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน

สำหรับขั้นตอนการขอใช้ไฟเกษตรมีขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าพื้นที่ที่จะขอใช้ไฟไม่ได้เป็นพื้นที่หวงห้ามจากราชการ เพื่อที่จะได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
2. เส้นทางต้องเป็นสาธารณะและสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก
3. จุดที่ขอใช้ไฟฟ้าต้องสามารถเข้าถึงได้จากระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสาย
4. ได้รับการรับรองด้านขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
5. ระบุแหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิตทางการเกษตรให้ชัดเจน เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ชนิดไหน ผลผลิตคืออะไร
6. ที่ดินต้องต้องไม่ถูกถือครองโดยเอกชนรายใหญ่ และต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดินทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร
7. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ต่อ 1 ราย ซึ่งมีค่าธรรมเนียม ดังนี้
ติดตั้ง 5(15) แอมป์ ราคา 1,000 บาท
ติดตั้ง 15(45) แอมป์ 1 เฟส ราคา 6,450 บาท
ติดตั้ง 15(45) แอมป์ 3 เฟส ราคา 21,350 บาท
* หมายเหตุ * อ่านรายละเอียดความแตกต่างระหว่างไฟ 1 เฟส และ ไฟ 3 เฟส ได้ที่นี้
8. ทั้งมิเตอร์เก่าและใหม่ต้องอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าเดียวกัน และต้องสามารถออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าของมิเตอร์ใหม่ โดยแจ้งเก็บเงินที่มิเตอร์เก่าได้
9. ค่าใช้จ่ายในการขยายเขตต่อรายเฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

จากข้างต้นที่เป็นเกณฑ์ในการเข้าร่วมโครงการแล้ว ยังมีเอกสารเพิ่มเติมที่ผู้ขอยื่นเรื่องต้องเตรียมไว้ด้วย ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาบัตรประชาชน
3. สำเนาโฉนดที่ดิน
4. เอกสารรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
สำหรับอัตราค่าไฟที่ต่างออกไปจะไม่เหมือนค่าไฟในครัวเรือน
โดยค่าไฟเกษตรมีอัตรา ดังนี้ อัตราปกติ (บาท / หน่วย)
– 100 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 100) 2.0889
– เกิน 100 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 101 เป็นต้นไป) 3.2405
ค่าบริการ 115.16

จากข้อมูลนี้เห็นได้ว่าเป็นข้อดีสำหรับพี่น้องชาวเกษตรกรไทยทุกท่าน ซึ่งยังคงมีอีกหลายท่านไม่ทราบว่าพื้นที่ ที่เราทำการเกษตรอยู่สามารถเข้าไปขอปรับเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าให้เป็นไฟฟ้าเกษตรได้ ซึ่งจะสามารถลดตันทุนในเรื่องค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกหลายเท่าตัวเลย ซึ่งในอนาคต หากเรื่องนี้ไปสอดคล้องรับกับนโยบายของพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรไทยโดยการนำเสนอนโยบายขยายเขตไฟฟ้าการเกษตรทั่วประเทศหน่วยละ 2 บาท เท่านั้น ก็จะยิ่งช่วยให้พี่น้องเกษตรกรไทย มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ไว้มากขึ้น

ลิงค์ที่มา