ผลสำรวจใหม่พบคนในเอเชียมุ่งใช้ชีวิตเกษียณให้นานและแข็งแรงขึ้น


การสำรวจคนกว่า 7,000 คนในเอเชียแสดงความคาดหวังว่าจะเกษียณก่อนอายุ ประกอบกับการเสื่อมถอยของสุขภาพที่เริ่มขึ้นเร็ว
ความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่ายของการมีสุขภาวะที่ดีกระตุ้นให้คนหันไปพึ่งพาบริการสุขภาพแบบจัดการด้วยตนเอง ( DIY healthcare) โดยใช้แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ
มีความเชื่อมั่นในเชิงบวกเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายทางการเงินและเป้าหมายเงินออมวัยเกษียณใน 5-10 ปีข้างหน้านี้
แมนูไลฟ์จะช่วยผู้คนรับมือกับกระแสความท้าทายใหม่ ๆ ในการเติบโตอย่างมีสุขภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและมั่งคั่งยิ่งขึ้นต่อไป
แมนูไลฟ์ (Manulife) เผยแพร่งานวิจัยชิ้นใหม่ โดยพบว่าชีวิตหลังเกษียณที่ยืนยาวและมีสุขภาพสมบูรณ์เป็นความปรารถนาของหลายคน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจำนวนมากในเอเชียมีความกังวลเกี่ยวกับความเสื่อมถอยของสุขภาพที่เกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาหยุดทำงาน และระบุว่าความท้าทายดังกล่าวนี้ยากที่จะจัดการรับมือได้ เนื่องจากราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของบริการสุขภาพ ประกอบกับแรงกดดันต่อการเงินส่วนบุคคลของพวกเขา

แบบสำรวจแมนูไลฟ์ เอเชีย แคร์ (Manulife Asia Care Survey) ประจำปี 2566 ชี้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว คนในเอเชียคาดว่าจะเกษียณในวัย 60 ปี โดยคาดว่าการเสื่อมถอยของสุขภาพจะเริ่มขึ้นในวัย 63 ปี หมายความว่าอายุขัยที่มีสุขภาพสมบูรณ์ (health span) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีสุขภาพที่ดี ปราศจากความทุพพลภาพและโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับวัยชรา คาดว่าจะมีระยะเวลาเพียง 3 ปีหลังจากเกษียณ [1] ความคาดหมายของคนกว่า 7,000 คนที่ได้รับการสำรวจค่อนข้างสอดคล้องกับค่าผิดปกติ (outlier) อย่างมาก 2 กรณี ได้แก่สิงคโปร์กับอินโดนีเซีย ในสิงคโปร์ คนคาดว่าจะมีสุขภาพที่เสื่อมถอย 1 ปีก่อนการเกษียณอายุที่คาดหมายในวัย 62 ปี ขณะที่คนในอินโดนีเซียคาดว่าจะยังคงมีสุขภาพที่ดีอีก 5 ปีหลังจากเกษียณในวัย 58 ปี

ความท้าทายด้านสุขภาพที่ใหญ่หลวงที่สุดได้แก่การแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นของการขยายอายุขัยที่มีสุขภาพสมบูรณ์ และการจัดการกับสุขภาพที่เสื่อมถอยในชีวิตเมื่อแก่ตัวลง เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจ (45%) พบว่าค่าใช้จ่ายของการรักษาการเจ็บป่วยเฉียบพลันสร้างความเครียดมากที่สุด พร้อมด้วยผลกระทบของการเจ็บป่วยเช่นนั้นต่อรายได้และความมั่นคงในหน้าที่การงาน

ผู้บริโภคในเอเชียยังกลัวการเจ็บป่วย โดย 4 ความกังวลหลัก ประกอบด้วย มะเร็ง (48%) โรคหัวใจ (43%) โรคหลอดเลือดสมอง (38%) และโรคเบาหวาน (35%) ด้วยภาวะประชากรสูงวัยในเอเชีย โรคที่เกี่ยวข้องกับวัยอย่างเช่นภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ยังก่อความกังวลในผู้ตอบแบบสำรวจ 20%

“คนในเอเชียทำงานหนักมาทั้งชีวิต จึงเข้าใจได้ที่พวกเขาต้องการวางแผนเกษียณที่มีสุขภาพสมบูรณ์และสุขสำราญ” คุณเดเมียน กรีน (Damien Green) ประธานและซีอีโอ แมนูไลฟ์ เอเชีย กล่าว “ความท้าทายใหญ่ที่สุดที่พวกเขาเผชิญคือการหาวิธีที่มีราคาที่จ่ายไหวในการจัดการกับสุขภาวะทางกายภาพและจิตใจ ที่แมนูไลฟ์ เรามุ่งส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ยืนยาว และเราต้องการร่วมมือกับผู้บริโภคตลอดทั้งวัยผู้ใหญ่ของพวกเขา เพื่อเสนอหลากหลายทางออกที่มีประสิทธิผลประกอบกับผลประโยชน์ขณะดำรงชีวิต ที่ทำให้พวกเขาทั้งมีสุขภาพที่สมบูรณ์ขึ้นและมั่งคั่งยิ่งขึ้น

ยินดีจ่ายเพิ่ม เพื่อขยายอายุขัยที่มีสุขภาพสมบูรณ์

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (92%) ระบุว่าพวกเขายินดีที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อยืดอายุขัยที่มีสุขภาพสมบูรณ์ การลงทุนในการออกกำลังและการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นเป็นวิธีหลักที่คนใช้ในการยกระดับสุขภาพของตนเอง นอกจากนี้ ขณะที่ปัญหาสุขภาพจิตกำลังเพิ่มสูงขึ้น กิจกรรมเจริญสติอย่างเช่นโยคะและการฝึกสมองก็เป็นวิธียอดนิยมในการช่วยเหลือตนเองในแง่นี้เช่นกัน

สำหรับแนวทางด้านบริการสุขภาพที่เป็นเชิงรุกมากขึ้น การตรวจร่างกาย (45%) บริการตรวจคัดกรอง (31%) การขอคำปรึกษาจากมืออาชีพ (29%) และการสอบถามด้านสุขภาพทางออนไลน์เป็นประจำ (23%) ล้วนเป็นที่นิยม โดยความท้าทายอยู่ที่เรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะเมื่อมากกว่าหนึ่งในสาม (37%) กังวลเกี่ยวกับการสูญเสียรายได้หรืองานในกรณีเจ็บป่วยร้ายแรง

ผลกระทบของต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้แก่การเพิ่มขึ้นของบริการสุขภาพแบบจัดการด้วยตนเอง (DIY healthcare) ความต้องการแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือในการติดตามเฝ้าระวังทางสุขภาพมีสูงมาก (86%) โดยแอปพลิเคชันเพื่อติดตามการออกกำลัง (52%) การนอนหลับ (38%) และการควบคุมการบริโภคอาหาร (35%) คือสามประเภทที่เป็นที่นิยมสูงสุด

นอกเหนือจากการวางแผนด้านสุขภาพแล้ว ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีเป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคล เป้าหมายที่เป็นที่นิยมสูงสุด 3 ประการแรกในกลุ่มผู้เข้าร่วมการสำรวจนี้ ได้แก่ การออมเงินสำหรับการเกษียณ (49%) สำหรับยามขัดสน (42%) และสำหรับความต้องการด้านบริการสุขภาพหรือการแพทย์ (32%) โดยมีเป้าหมายการออมเงินสำหรับการเกษียณสูงเป็นพิเศษในสิงคโปร์ (63%)

ผู้ตอบแบบสำรวจยกให้การเก็บออมเงินสดและการฝากเงินในธนาคาร (81%) เป็นวิธีหลักในการบรรลุเป้าหมาย ตามด้วยประกันส่วนบุคคล (59%) และในระดับภูมิภาค การสนับสนุนจากครอบครัว (42%) เป็นวิธีสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้เช่นกัน

“อุปสรรคที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นมากที่สุดต่อการบรรลุเป้าหมายทางเงินเหล่านี้ ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการลดลงของรายได้ ตามด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นของบริการสุขภาพและสุขภาพส่วนบุคคลที่เสื่อมถอยลง” คุณกรีน กล่าว “อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือมีเพียงหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสำรวจที่มีแผนเกษียณพร้อมอยู่แล้ว เรายังพบว่ามีการพึ่งพาการออมเงินสดเป็นอย่างมาก ซึ่งจะถดถอยลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่มีภาวะเงินเฟ้อ เป็นเรื่องฉลาดที่จะใช้เครื่องมือการออมที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยทบต้นหรือเริ่มลงทุนและลงทุนต่อไป หรือทำทั้งสองอย่าง”

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.thaipr.net/general/3320473



ลิงค์ที่มา