นักท่องเที่ยวเยอะจริงแต่สวนทางกับตัวเลขเศรษฐกิจเพราะอะไรมาดูกัน


มีการประเมินจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของธนาคารกสิกรไทย ว่าปี2565 นั้น นักท่องเที่ยวไทยน่าจะมีประมาณ 11.0 ล้านคน ถ้าเทียบกับปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวมีเพียงแค่ 28% เท่านั้นเอง จากตัวเลขดังกล่าวแน่นอนว่าส่งผลเสียให้กับธุรกิจท่องเที่ยวไทย แต่เชื่อมั้ยว่ามีอีกปัจจัยสำคัญที่ตอนนี้ธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องเผชิญ นั้นก็คือ ค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไปส่งผลต่อเงินที่ใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในประเทศไทย เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จากตัวเลขที่เปิดเผยล่าสุดโดย การท่องการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออก หรือประเทศเพื่อนบ้านของเรานี่แหละที่มาอันดับ 1
จำนวนนักท่องเที่ยวเดือน. ตุลาคม พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 1,475,430 คน แบ่งออกเป็น
East Asia จำนวน 856,772 คน
Europe จำนวน 286,113 คน
The Americas 79,165 คน
Africa 8,150 คน
จากตัวเลขดังกว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยมากที่สุดคือประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มนี้มักจะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นเวลาสั้น 3-7 วัน และยิ่งไปกว่านั้นคือ กลุ่มเหล่านี้ก็มักจะเป็นนักท่องเที่ยวแบบ Backpacker ซะส่วนมาก นั้นเลยไม่ใช่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่กระเป๋าหนักแบบที่ประเทศไทยต้องการในขณะนี้ เพราะค่ำไหนนอนนั่น นี่คือคอนเซ็ปของนักท่องเที่ยวขาลุย ผิดกับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เราต้องการนั้นก็คือ กลุ่มยุโรปที่พวกเค้าจะสามารถลางานยาวได้เป็นเดือน และมีเงินมาใช้จ่ายในประเทศของเราได้มากกว่ากลุ่มเพื่อนบ้านอย่างมาก ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ยังดีไม่พอสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยในปัจจุบัน
จากการประเมินที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามากขึ้นเรื่อยๆแต่ก็ต้องย้อนกลับมาถามกันอีกทีว่า “ตัวเลขที่มากขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวลดลง” นั้นดีหรือไม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ในปี 2566 การใช้จ่ายของชาวต่างชาติเที่ยวไทย จะสร้างรายได้สู่ธุรกิจท่องเที่ยว จะมีมูลค่าประมาณ 0.84-1.01 ล้านล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยต่อทริปอยู่ที่ประมาณ 42,000 บาทต่อคนต่อทริป เพิ่มขึ้นจากประมาณ 40,000 บาทต่อคนต่อทริป ในปี 65 แต่ยังต่ำกว่าเฉลี่ย 47,895 บาทต่อคนต่อทริป ในปี 2562 อีกด้วย

https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Tourist-2023-z3370.aspx

เทรนด์และความต้องการของนักท่องเที่ยว
ยิ่งถูกยิ่งดี คอนเทนต์ที่ชาวต่างชาติเลือกทำในประเทศไทย

ตอนนี้กระแสโซเชียลไม่ว่าจะเป็น ติ๊กต๊อก ยูทูป หรือ เฟสบุค ส่วนมากจะมีการรีวิวการท่องเที่ยว Lifestyle กิน เที่ยว ช๊อป ของเหล่าติ๊กต๊อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ ผู้นำเสนอเรื่องราวผ่านช่องทางของพวกเค้า และที่เห็นมากที่สุดและเป็นที่นิยมมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นก็เรื่อง “กิน” โดยยูทูปเบอร์จากทั่วโลกที่ทำการรีวิวประเทศไทย และสนใจมาประเทศไทย ที่เห็นหนักๆ ก็จะมาเพื่อการรีวิวการใช้จ่ายที่น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็น “1 $ Thaifood” จนไปถึงการมี #cheap food in Thailand เป็นการสะท้อนพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดีว่านักท่องเที่ยวมีการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเชื่อกันหรือไม่ว่าคอนเทนต์เหล่าได้รับความนิยมสูงกันมากๆ มียอดวิวสูงๆกันทั้งนั้น โดยมีตั้งแต่หลัก 10,000 วิว ไปจนถึง 10 ล้านวิวขึ้นไป สะท้อนถึงความนิยมในรูปแบบนี้กันมากขึ้นเพราะยอดวิวที่สูงเท่ากับว่ามีคนสนใจคอนเท้นต์นี้เป็นอย่างมาก

แล้วนักท่องเที่ยวประเภทไหนที่ไทยต้องการ ?
การที่มีชาวต่างชาติทำรีวิว การกินราคาแสนถูก การนอนโรงแรมราคาถูกมากๆ นั้น ในมุมหนึ่งก็ต้องขอขอบคุณพวกเขาเหล่านั้นที่ช่วยโปรโมทประเทศไทย

แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง การทำคอนเทนต์ประเภทนี้อาจจะดึงนักท่องเที่ยวที่จ้องมาเที่ยวประเทศไทย แล้วเกิดการใช้เงินในการท่องเที่ยวที่น้อยมากๆ เรียกได้ว่าเฉลี่ยต่อหัวแสนจะต่ำเตี้ยเรี่ยดิน เพราะการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติกลุ่มนี้ จะรีวิวที่คุ้มค่าที่สุด ในราคาที่ถูกที่สุด โดยสัดส่วนที่ชาวยูทูปเบอร์นั้นทำคอนเทนต์กินหรูอยู่สบายในไทยนั้นก็มีสัดส่วนและได้รับความนิยมน้อยกว่าแบบ “ยิ่งถูกยิ่งดี” อยู่มาก
ทำให้ในที่สุดนักท่องเที่ยวเหล่านี้อาจจะใช้เงินเพียงแค่ 30,000บาทต่อทริปเท่านั้น จากเดิมที่ “มีการคาดการณ์เฉลี่ยต่อคนต่อทริป อยู่ที่ประมาณ 40,000-42,000 บาท” ด้วยซ้ำไป

ในปัจจุบันรัฐบาลไทยนั้นได้มีการ ปั้นโครงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพขึ้นมา แต่ก็เหมือนจะดันไม่ขึ้น ททท. เร่งพัฒนาคอนเทนต์ ผลิตสื่อดิจิทัล-โปรโมตการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังโควิดคลี่คลาย โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นได้วางแผนเชิงรุกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เร่งพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ไปยังต่างประเทศ แต่ก็กลับไม่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติเพราะอาจมีราคาที่สูงกว่าแบบท่องเที่ยวในราคาถูก อยู่มาก ก็มันแน่นอนอยู่แล้วของใช้ในกลุ่มสุขภาพก็ต้องจ่ายราคาแพงกว่าปกติ แบบนี้ก็แปลได้ว่า “คนต่างชาติเที่ยวไทยเพิ่มขึ้น แต่ใช้จ่ายต่อทริปลดลง” มันก็เหมือนวนอยู่ในอ่างใบยักษ์ที่เราหวังว่าหลังเปิดประเทศแล้ว จะมีชาวต่างชาติเข้ามามากและมีการใช้จ่ายต่อหัวที่มากเหมือนเมื่อก่อน
อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลจีนอนุญาตให้ชาวจีนออกเที่ยวนอกประเทศได้ ประเทศไทยจะมีโอกาสได้นักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นอีกหลายล้านคน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่างชาติก็อาจจะมากขึ้นเพราะชาวจีนชอบการซื้อของฝากกลับประเทศเป็นอย่างมาก
โจทย์ใหม่ที่ไทยจะต้องแก้ ตอนนี้กลับมีเพิ่มมาอีกหนึ่งเรื่องหลังจากที่ดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทยแล้ว นั่นก็คือ
เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวนักท่องเที่ยว โจทย์ใหม่ “ท่องเที่ยวไทย” เพราะ นักท่องเที่ยวเที่เข้าควรเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ กระเป๋าหนัก นั่นน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ดีสำหรับประเทศไทยที่ปิดประเทศมาเกือบ3 ปี เพื่อเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น น่าจะดีไม่น้อยเพราะ หากตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นก็จริง แต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวนั้นลดลง ก็อาจจะต้องเหนื่อยต่อไปกันอีกหลายปีกันเลยหละงานนี้

ที่มาhttps://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220901151921168

https://thaipublica.org/2019/11/krungthai-compass02/

นักท่องเที่ยวเยอะจริงแต่สวนทางกับตัวเลขเศรษฐกิจเพราะอะไรมาดูกัน



ลิงค์ที่มา