เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่การระบาดของโคโรนาไวรัสส่งผลกระทบต่อวิถีการทำงานของผู้คนมากมาย หลายๆ คนต้องเปลี่ยนห้องเช่าเล็กๆ ให้กลายมาเป็นออฟฟิศเพื่อทำงานจากบ้าน

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในปี 2020 นั้นเข้าสู่ชีวิตวัยทำงานท่ามกลางการระบาดของโคโรนาไวรัสที่มาพร้อมกับรูปแบบการทำงานจากบ้านหรือ Work from Home ประสบการณ์ทำงานของพวกเขาจึงถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ไม่ว่าจะในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่นของอพาร์ทเมนท์

หลายๆคนให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีถึงสิ่งที่ขาดหายจากการทำงานรูปแบบนี้ เช่น การสานความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในทุกๆ วันและบรรยากาศการทำงานไม่มีสิ่งรบกวนต่างๆ ที่เจอภายในบ้าน

หลากมุมมองเรื่อง Pros & Cons ของ ประสบการณ์ Work from Home

รีแบคกา อินแกรม บอกว่าประสบการณ์ฝึกงานของเธอกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Like Minded Females Network ในกรุงลอนดอนมาพร้อมกับอุปสรรคต่างๆมากมาย พื้นที่และอุปกรณ์การทำงานของนั้นแตกต่างจากในออฟฟิสอย่างสิ้นเชิง บางครั้งสุนัขของเธอก็เห่าในระหว่างการประชุมหรือแม่ของเธอก็ร้องเรียกชื่อเธอหลายครั้งต่อวัน

เธอพูดต่อว่า มันเป็นประสบการณ์และบรรยากาศการทำงานที่แปลกประหลาด เธอรู้ว่าเธอกำลังทำงานอยู่ แต่ตัวเธอเองก็อยู่ที่บ้านไม่ใช่ที่ออฟฟิศ

แต่ทางด้าน โซฮีนี เซ็นกุปตา เจ้าหน้าที่ฝึกงานด้านการผลิตของสำนักข่าว India Today บอกว่าสไตล์การทำงานทางไกลไม่ใช่เรื่องยากที่เธอต้องใช้เวลาปรับตัว เพราะเธอเคยชินกับการเรียนออนไลน์มาก่อนหน้านี้แล้ว​ แต่ทั้งนี้ เธอบอกว่าเธอขาดความรู้สึกว่าเธอเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สิ่งที่เธอได้เห็นแค่เพียงรูปถ่ายของภาพกิจกรรมต่างๆที่พนักงานในองค์กรทำร่วมกันบนเว็บไซต์ของบริษัท แต่เธอเองนั้นกลับไม่มีโอกาสได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้นเลย

ทั้งนี้ พนักงานหน้าใหม่บางคนกลับชอบการทำงานรูปแบบนี้ แมทธิว โทล ที่กำลังฝึกงานอยู่กับบริษัทการตลาด Find Your Flex ในกรุงลอนดอน บอกว่าเขาชอบที่ไม่ต้องเดินทางไปที่ที่ทำงานทุกวัน และก็รู้สึกว่าความสามารถในการสานสัมพันธ์ออนไลน์ของเขากับคนในแวดวงธุรกิจนั้นทำได้ง่ายขึ้นมากกว่าการเจอกันตัวต่อตัว

ขณะนี้ มาตรการที่เคร่งครัดต่างๆ เริ่มหมดไปในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา บริษัทบางแห่งกำลังจะกลับมาเปิดออฟฟิศของตนเอง รวมทั้งบริษัทโฆษณา TANK ในอังกฤษ ซึ่งพนักงานหน้าใหม่ แอนนาเบล เรดเกส ที่เริ่มตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ในช่วงที่โควิดกำลังระบาดอย่างหนัก บอกกับเอพีว่า เธอรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะมีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศการทำงานในแบบปกติในที่สุด

FILE - In this June 21, 2019, file photo commuters walk through a corridor in the World Trade Center Transportation Hub in New York. Millennial workers are more likely than older generations to…

FILE – In this June 21, 2019, file photo commuters walk through a corridor in the World Trade Center Transportation Hub in New York. Millennial workers are more likely than older generations to…

ผู้ประกอบตระหนักถึงอุปสรรคที่พนักงานเผชิญ

ผู้ประกอบการหลายๆ ที่เข้าใจว่าการทำงานสไตล์ใหม่นี้มาพร้อมกับอุปสรรค ดีน ทราเวลีโน่ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทการตลาด Trevelino/Keller ในเมืองแอนแลนตาของสหรัฐฯ บอกว่าเขาเน้นย้ำความเป็นหนึ่งเดียวกันในองค์กรด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ตอน 9 โมงเช้าทุกวัน พนักงานจะเปิดเพลงเดียวกันและพูดคุยถึงเพลงที่เปิดแต่ละวันนั้นๆบนโปรเเกรม Slack ที่เป็นกรุ๊ปสนทนาภายในองค์กร

ไลซา สเติร์ฟ ผู้บริหารบริษัท Knopman Marks Financial Training ที่ขายหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับการเงินในนครนิวยอร์ก บอกว่าเธอได้เชิญให้พนักงานในบริษัทมากินปิ้งย่าง (barbecue) ที่บ้านของเธอ เธอรู้สึกได้ว่างานเลี้ยงเล็กๆนี้มีความหมายต่อพนักงานมาก ซ้ำยังเป็นครั้งแรกที่พนักงานคนอื่นๆได้พบหน้าพนักงานใหม่ทั้งสองคนเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ทางด้าน มาเบิล อับราฮัม อาจารย์ของมหาวิทาลัย Columbia Business School ในนครนิวยอร์กบอกกับสำนักข่าวเอพีว่า ขณะนี้ยังไม่ข้อมูลที่ระบุถึงผลกระทบของการที่คนรุ่นใหม่เริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยรูปแบบ Work from Home พนักงานบางคนในกลุ่มนี้ประสบปัญหาด้านการสร้างความสัมพันธ์หรือการเข้าถึงเจ้านายและผู้ร่วมงานวัยอาวุโสบางท่านที่ไม่สันทัดเรื่องการทำงานที่บ้าน

People exercise in front the city skyline in Melbourne on August 29, 2021, as authorites announced the extension of an ongoing coronavirus lockdown in Australia's second-biggest city. (Photo by William WEST / AFP)

People exercise in front the city skyline in Melbourne on August 29, 2021, as authorites announced the extension of an ongoing coronavirus lockdown in Australia’s second-biggest city. (Photo by William WEST / AFP)

เธอบอกต่ออีกว่า แม้จะมีกระแสว่าการทำงานทางไกลจะเปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆมีความหลากหลาย (Diversity) เพิ่มมากขึ้น แต่ตามคิดเห็นของเธอนั้น เธอเตือนว่ามันอาจมีผลตรงกันข้าม ความเลื่อมล้ำในที่ทำงานอาจจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพนักงานใหม่ๆอาจจะมีพื้นเพหรืออยู่ไกลจากกลุ่มพนักงานหลักที่เคยได้ทำงานในออฟฟิศในช่วงก่อนโควิด ซึ่งคนเหล่านี้มักจะอาศัยอยู่ในละแวกที่ไม่ไกลจากที่ทำงาน ในที่สุด พวกเขาสะดวกที่จะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ และเป็นไปได้ด้วยว่า “อาจจะเป็นผู้ชาย หรือคนผิวขาว มากกว่า” มากจากประชากรกลุ่มอื่น

อย่างไรก็ตาม สูหนีด ดูอา ผู้บริหารเรื่องผลิตภัณฑ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง PwC ในสหรัฐฯคาดว่า การทำงานที่บ้านจะให้ผลดี ทั้งในด้านการสร้างความแข็งแกร่งทีมและความยืดหยุ่นในการปรับตัวสำหรับพนักงานรุ่นใหม่ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเข้ามาช่วยการทำงานจากบ้าน

ทั้งนี้ แม้สถานการณ์การระบาดของโควิดจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ผู้ประกอบการบางแห่งก็ยังคงเลือกที่จะให้พนัก งานทำงานทางไกลอยู่

(ที่มา สำนักข่าวเอพี)



ลิงค์ที่มา