ทรินา โซลาร์ เล็งเห็นศักยภาพทางตลาดด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในอินโดนีเซีย


ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ผู้ให้บริการโซลูชันเบ็ดเสร็จด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานอัจฉริยะชั้นนำระดับโลก เล็งเห็นว่าอินโดนีเซียมีศักยภาพอย่างมากในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งที่ดีที่สุดของพลังงานหมุนเวียนในการบรรลุเป้าหมายของประเทศ
รัฐบาลอินโดนีเซียได้ตั้งเป้าหมายในการมีพลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วน 23% ของแหล่งพลังงานทั้งหมดภายในปี 2568 และ 31% ภายในปี 2593
ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วน 11-14% ในแหล่งพลังงานทั้งหมดของอินโดนีเซีย แต่ความท้าทายสำหรับอินโดนีเซียคือการทำให้มั่นใจว่าการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนไม่เพียงแต่สอดรับกับการเติบโตของการบริโภคพลังงานขณะที่ประชากรและเศรษฐกิจขยายตัวเท่านั้น แต่ยังต้องสูงกว่านั้นด้วย เพื่อให้อินโดนีเซียสามารถบรรลุเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนของประเทศ

รายงานประเมินแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านพลังงานของอินโดนีเซีย (Indonesia Energy Transition Outlook) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency หรือ IRENA) และกระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ธาตุแห่งอินโดนีเซียเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน คาดการณ์ว่าประชากรของอินโดนีเซียจะเพิ่มเป็น 335 ล้านคนในช่วงสามทศวรรษข้างหน้านี้ พร้อมทั้งคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยห้าเท่าเป็น 1,700 เทระวัตต์ชั่วโมง (TWh) ภายในปี 2593

รายงานดังกล่าวยังแนะนำการขยายทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันถ่านหินยังมีสัดส่วนเป็นกว่า 40% ของแหล่งพลังงานทั้งหมดของอินโดนีเซียและ 60% ของการผลิตกระแสไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน พลังงานแสงอาทิตย์ยังมีสัดส่วนน้อยกว่าไฟฟ้าพลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ

เช่นนี้ขัดกับกับแนวโน้มระดับโลก โดยสำนักงานพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศระบุว่า โลกในปี 2564 ได้เพิ่มพลังงานหมุนเวียนเกือบ 257 กิกะวัตต์ (GW) โดย 133 กิกะวัตต์มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขณะที่กำลังผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ของอินโดนีเซียในปี 2564 เพิ่มขึ้น 14% เป็น 211 เมกะวัตต์ (MW) จาก 185 เมกะวัตต์ สำนักงานพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศระบุ ขณะนี้อินโดนีเซียอยู่ในอันดับเจ็ดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านพลังงานแสงอาทิตย์

กำลังผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ สิ้นสุดปี 2564

ประเทศ
กำลังผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ (MW)
การเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
1
เวียดนาม
16,600
0 %
2
ไทย
3,049
2 %
3
มาเลเซีย
1,787
20 %
4
ฟิลิปปินส์
1,370
29 %
5
สิงคโปร์
433
15 %
6
กัมพูชา
428
36 %
7
อินโดนีเซีย
211
14 %

ที่มา: สำนักงานพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ

คุณเอลวา หวาง (Elva Wang) หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทรินา โซลาร์ กล่าวว่า “เพื่อให้อินโดนีเซียเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและบรรลุเป้าหมายของประเทศ อินโดนีเซียต้องเร่งการติดตั้งใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเนื่องจากมีอยู่พร้อมและสามารถติดตั้งใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นตลาดที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างมากในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ มีความต้องการอย่างใหญ่หลวงที่เราสามารถเติมเต็มได้ด้วยโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบหมุนตามตะวัน (tracker) และโซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์แบบบูรณาการระดับแนวหน้าของตลาดของเรา”

โมดูลพลังงานแสงอาทิตย์สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วบนหลังคาและพื้นที่ว่าง ทรินา โซลาร์ ให้บริการทุกส่วนของตลาด ทั้งในระดับที่พักอาศัย การพาณิชย์และอุตสาหกรรม (C&I) และสาธารณูปโภค พลังงานแสงอาทิตย์มอบอิสรภาพแก่ผู้อยู่อาศัยและธุรกิจพาณิชย์และอุตสาหกรรมในการบรรลุความต้องการด้านพลังงานของตน บรรเทาภาระจากราคาพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนและการต่อสู้กับภาวะโลกรวน

โมดูลพลังงานแสงอาทิตย์เป็นโซลูชั่นที่คุ้มค่าต้นทุนที่สุด โดยมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุโครงการ (LCOE) ที่ต่ำกว่า ปัจจุบันผลผลิตไฟฟ้าของโมดูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2552 โมดูลใหม่มีกำลังผลิตเฉลี่ย 290 วัตต์ ขณะที่โมดูลกำลังสูงในปัจจุบันมีกำลังผลิต 500 วัตต์ขึ้นไป
ขณะเดียวกัน ราคาของโมดูลได้ลดต่ำลงเนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีขึ้นและ ‘การประหยัดต่อขนาด’ (economy of scale) ปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์ได้บรรลุจุดที่ต้นทุนการผลิตเท่ากับระบบสายส่ง (grid parity) แล้วในตลาดหลายแห่ง โดยมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่ากริดไฟฟ้า
เพื่อให้อินโดนีเซียบรรลุเป้าหมายการมีพลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วน 23% ของพลังงานทั้งหมดภายในปี 2568 จำเป็นที่จะต้องมีโซลูชั่นที่มีอยู่ในปัจจุบันและสามารถติดตั้งใช้งานได้อย่างรวดเร็ว โดยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาสามารถติดตั้งใช้งานได้ในเวลาหลักวัน ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยังสามารถพัฒนาได้รวดเร็วกว่าพลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่นๆมาก ในแง่นี้ โมดูลกำลังสูงและประสิทธิภาพสูงของทรินา โซลาร์มีอยู่พร้อมในตลาดปัจจุบัน เช่นเดียวกับระบบหมุนตามตะวันของทรินา โซลาร์ซึ่งช่วยส่งเสริมการผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นไปอีกขั้น

ทรินา โซลาร์ เวอร์เท็กซ์ ดีอี19อาร์ (Trina Solar Vertex DE19R) สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ใช้เซลล์ยาว 210 มม. มีกำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 580 วัตต์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด 21.5%

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.thaipr.net/energy/3309374

ทรินา โซลาร์ เล็งเห็นศักยภาพทางตลาดด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในอินโดนีเซีย



ลิงค์ที่มา