หัวเว่ยและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติร่วมกันเปิดตัวโครงการนำร่อง เพื่อสร้างแนวทางในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมุ่งเน้นที่การอนุรักษ์นกอินทรีแถบปีกดำในอุทยานธรรมชาติซานต์ ยอเรนซ์ เดล มุนต์ อี โลบัค
หัวเว่ย (Huawei) และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้เลือกอุทยานธรรมชาติซานต์ ยอเรนซ์ เดล มุนต์ อี โลบัค (Sant Llorenc del Munt i l’Obac) ในบาร์เซโลนาสำหรับโครงการใหม่ของเทคฟอร์เนเจอร์ (Tech4Nature) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อระบบนิเวศของอุทยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนกอินทรีแถบปีกดำ (Bonelli’s eagle)
อุทยานแห่งนี้มีผู้มาเที่ยวชมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่ที่เกิดโรคระบาด สะท้อนให้เห็นเทรนด์การพักผ่อนและการท่องเที่ยวในพื้นที่ธรรมชาติและพื้นที่คุ้มครองในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบทที่เพิ่มมากขึ้น แต่ภายหลังจากนั้น ผู้จัดการอุทยานได้สังเกตเห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมของนกอินทรีแถบปีกดำที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพวกมันทำรังอาศัยอยู่ในอุทยานแห่งนี้ และเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) ตามที่บัญญัติไว้ในบัญชีแดงด้านสัตว์ประเภทนกของสเปน (Spanish Red Book of Birds)
โครงการดังกล่าวมีกำหนดเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยหัวเว่ยและองค์กรพันธมิตรจะร่วมกันพัฒนาและเดินหน้าใช้โซลูชันทางเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยกล้อง ตัวรับจีพีเอส (GPS) และแพลตฟอร์มคลาวด์ ที่จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และการจัดเก็บข้อมูล ด้วยการสร้างระบบตรวจจับ-แจ้งเตือน โซลูชันนี้จะสังเกตและเฝ้าติดตามการเคลื่อนที่ของนกอินทรี และพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อวงจรการสืบพันธุ์ของนกอินทรี โดยปัจจุบัน การที่มนุษย์เข้าไปรบกวนพื้นที่เพาะพันธุ์ของนกอินทรีนั้นถือเป็นภัยคุกคามใหญ่ของพวกมัน
ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ทั้งหมดจะถูกส่งต่อไปยังแพลตฟอร์มคลาวด์เพื่อให้เอไอ (AI) ทำการวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยกำหนดแนวทางการตัดสินใจด้านการอนุรักษ์ พร้อมช่วยสนับสนุนภารกิจของผู้จัดการอุทยานในการรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
“โครงการนี้จะช่วยให้เรามีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นสำหรับการจัดการและการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์สาธารณะ” อันเจล มินโญ (?ngel Mi?o) ผู้อำนวยการอุทยานธรรมชาติฯ สังกัดสภาบาร์เซโลนา กล่าว “ขณะเดียวกัน โครงการนี้ยังทำให้การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเข้ามาใกล้ชิดกับประชาชนทั่วไปมากขึ้น โดยเราวางแผนปล่อยวิดีโอและเผยแพร่สื่อรูปแบบอื่น ๆ ด้วยความร่วมมือกับหัวเว่ยและ IUCN โครงการนี้ได้เปิดทางให้เราก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพ จากการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ากับการติดตามและการอนุรักษ์ธรรมชาติ”
เพื่อผลักดันผลลัพธ์ทางการวิจัยและการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ คุณมินโญเน้นย้ำว่า การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้ครอบคลุมถึงมหาวิทยาลัยและโลกธุรกิจ ถือเป็นแง่มุมสำคัญของกลยุทธ์การจัดการของอุทยาน และมีผลต่อความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งพันธมิตรรายอื่น ๆ ในโครงการก็เห็นด้วยเช่นกัน
“การประสานงานกันระหว่างสถาบันของรัฐและภาคเอกชนมีความจำเป็นมากขึ้นเพื่อผลักดันความสำเร็จ ท่ามกลางความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน” อันโตนิโอ ทรอยา (Antonio Troya) ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือเมดิเตอร์เรเนียนแห่ง IUCN กล่าว “เรามีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และหลอมรวมสิ่งเหล่านี้เข้ากับมาตรการอนุรักษ์ระบบนิเวศของเรา โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า ความร่วมมือและการผลักดันสู่กระแสหลักสามารถช่วยหยุดยั้งความเสียหายด้านความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร”
ภายใต้โครงการเทคฟอร์เนเจอร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง IUCN กับหัวเว่ย ที่สอดรับกับบัญชีเขียวของ IUCN (IUCN Green List) และโครงการริเริ่มเทคฟอร์ออลล์ (TECH4ALL) ของหัวเว่ย ผู้จัดการอุทยานสังกัดสภาบาร์เซโลนา จะเปิดตัวโครงการนี้ที่อุทยานซานต์ ยอเรนซ์ เดล มุนต์ อี โลบัค ในช่วงต้นปี 2566 โดยมีหัวเว่ยและมหาวิทยาลัยจิโรนา (Girona) ร่วมกันพัฒนาโซลูชันทางเทคนิคในช่วงปี 2566 และ 2567
เทคฟอร์เนเจอร์มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโซลูชันทางเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการอนุรักษ์ธรรมชาติบนพื้นที่คุ้มครอง 300 แห่งตลอด 3 ปี และวัดประสิทธิภาพของโครงการโดยเทียบกับบัญชีเขียวของ IUCN โดยความร่วมมือของเทคฟอร์เนเจอร์ เป็นการบูรณาการประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติของ IUCN เข้ากับความเชี่ยวชาญของหัวเว่ยในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย
“โครงการนี้เป็นโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติแรกที่เราเปิดตัวในสเปน หลังจากที่เราประสบความสำเร็จในการพัฒนาโซลูชันเพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ และพื้นที่ธรรมชาติในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาแล้วหลายครั้งโดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีความก้าวล้ำ เช่น คลาวด์ เอไอ และการเชื่อมต่อ” อีริค หลี่ (Eric Li) ซีอีโอของหัวเว่ย ประเทศสเปน กล่าว “บทบาทของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในการรับมือกับความท้าทายนี้คือกุญแจสำคัญ แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือการร่วมมือกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่มีความมุ่งมั่น ซึ่งจะช่วยทำให้เป้าหมายเหล่านี้เป็นจริงได้”
นอกเหนือจากการสร้างหลักประกันว่าโครงการนี้จะสามารถสร้างความสมดุลระหว่างการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพกับความเพลิดเพลินสำหรับทุกคนบนพื้นที่อุทยานซานต์ ยอเรนซ์ เดล มุนต์ อี โลบัค หัวเว่ยยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โมเดลนี้จะสามารถนำไปพัฒนาและนำไปใช้ในพื้นที่คุ้มครองอื่น ๆ ของสเปนได้
เกี่ยวกับโครงการเทคฟอร์ออลของหัวเว่ย
เทคฟอร์ออล (TECH4ALL) คือโครงการริเริ่มระยะยาวของหัวเว่ยเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังในโลกดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ การศึกษาที่เสมอภาคและมีคุณภาพ การอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพอย่างครอบคลุมทั่วถึง และการพัฒนา
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.huawei.com/en/tech4all
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1977965/Bonelli_s_eagle.jpg
คำบรรยายภาพ – นกอินทรีแถบปีกดำ