การศึกษาล่าสุดจาก Milieu Insight เปิดเผยพฤติกรรมและทัศนคติทางการเงินของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สิงคโปร์, 20 มีนาคม 2024 – Milieu Insight, บริษัทผู้นำด้านซอฟต์แวร์ทำการวิจัยตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการเงินและการลงทุนส่วนบุคคล ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมหกประเทศได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ไทย และฟิลิปปินส์ ด้วยจำนวน ผู้ตอบแบบสอบถาม 3000 คน เพื่อทำความเข้าใจ ความหมายของความสำเร็จ พฤติกรรมการเก็บออม การมีและการใช้บัตรเครดิต รวมไปถึงการชำระหนี้ส่วนบุคคล
จากผลของการศึกษานี้ 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มองการบรรลุเป้าหมายในเรื่องความมั่นคงทางการเงินและการออมเพื่อการเกษียณอย่างเพียงพอ เป็นเครื่องหมายสำคัญของความสำเร็จในชีวิต รองจากการมีสุขภาพที่ดี
วิกฤตในเรื่องการบริหารเงิน
อย่างไรก็ตาม ผลของงานวิจัยนี้ ยังเผยให้เห็นแนวโน้มที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อพบว่า มีมากกว่า 4 ใน 10 ของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำการออมเงินได้เพียง 10% ของรายได้ของตนเองเท่านั้น ข้อมูลนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเสริมศักยภาพบุคคลด้วยความรู้และเครื่องมือที่ถูกต้องซึ่งจำเป็นสำหรับพวกเขาในการสร้างนิสัยทางการเงินที่เหมาะสม
“การศึกษาของ Milieu Insight เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการบริหารเงินทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างชัดเจนในการที่จะต้องส่งเสริมความรู้ การวางแผนทางการเงินให้คนในภูมิภาค ดูได้จากจำนวนผู้ลงทุน หรือเก็บออม การลงทุนเป็นการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน แต่คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียง 46% ของประชากรที่ทำการลงทุน และส่วนใหญ่ก็ทำอย่างไม่ต่อเนื่อง การเตรียมความพร้อมให้แก่บุคคล เพื่อการตัดสินใจทางการเงินอย่างมีเหตุผล เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างเร่งด้วน รายงานยังเน้นให้เห็นด้วยว่าคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยินดีเปิดรับคำแนะนำทางการเงินจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะ เรียนรู้และแก้ปัญหา การเงินส่วนตัวหรือการลงทุนที่ซับซ้อนให้กับตัวเอง” จุดา คณาปราชญ์, ผู้ร่วมก่อตั้งและ CCO ของ Milieu Insight กล่าว
คนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กำลังพลาดโอกาสการเติบโตด้านการเงิน
ถ้ามามองอีกมุมหนึ่งในเรื่องของการบริหารหนี้บัตรเครดิต ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีและใช้บัตรเครดิตอยู่ในทุกประเทศ และแน่นอน การถือครองบัตรเครดิต มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ โดยอินโดนีเซียมีอัตราการครอบครองที่ต่ำที่สุดและสิงคโปร์มีอัตราการครอบครองสูงสุด อย่างไรก็ตาม, 68% ของผู้ถือบัตรเครดิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชำระยอดบัตรเป็นจำนวนเต็มเกือบทุกครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบทางการเงินในหมู่ผู้ใช้ส่วนใหญ่
ในทางกลับกัน ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง (54%) ไม่กระตือรือร้นที่จะลงทุน แนวโน้มนี้อาจได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงโอกาสในการลงทุนที่จำกัด การบริหารการเงินไม่เหมาะสม หรือความชอบในการออมมากกว่าการลงทุนที่แตกต่างกันไป ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้พลาดโอกาสการเติบโตทางการเงินไปมาก
ความต้องที่จะทำการลงทุน
หากมาเจาะดูสัดส่วนของคนที่ลงทุน จะเห็นได้ว่า เกือบครึ่งหนึ่ง (46%) ของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการลงทุนอย่างจริงจัง โดย 58% ของคนกลุ่มนี้ จัดสรรรายได้มากถึง 20% ของพวกเขาไปกับการลงทุน และมี 1 ใน 5 ของคนกลุ่มนี้ เลือกลงทุนเป็นครั้งคราว ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ยังมีช่องว่างในการที่จะปรับปรุงกลยุทธ์การวางแผนทางการเงินให้กับคนในกลุ่มนี้ได้อีก
จากประเทศทั้งหมดที่ได้ทำการสำรวจในรายงานนี้ คนสิงคโปร์เป็นผู้นำในเรื่องการลงทุน จากสัดส่วนที่สูงสุด 59% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เหลือในภูมิภาค ที่มีคนลงทุนอยู่ 46%
การลงทุนในหุ้น เงินฝากประจำ และกองทุนรวม เป็นรูปแบบการลงทุนที่นิยมสูงสุดในหมู่คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ คาดหวังการลงทุนนี้เหล่านี้ให้เป็น แหล่งทุนหลังเกษียณ แหล่งทุนใช้จ่ายในอนาคต การได้รับดอกเบี้ยเพื่อให้เงินต้นงอกเงย ความท้าทายของคนส่วนใหญ่ที่เป็นอุปสรรคในการเลือกลงทุนของคนส่วนใหญ่ คือความกลัว กลัวที่จะเสียเงิน กลัวที่จะนำเงินไปลงทุน หรือฝากไว้นานๆ แต่ก็ยังกลัวที่จะพลาดโอกาสในการที่จะทำให้ทรัพย์สินงอกเงย
ผลการศึกษานี้ยังพบว่าคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปิดรับและมีความต้องการคำแนะนำทางการเงินจากผู้เชี่ยวชาญ โดย 60% ระบุว่าคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนให้กับพวกเขา ในขณะที่ 49% ของคนที่ลงทุนอยู่แล้ว ก็มักจะขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญส่วนตัว ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลอันดับต้นๆของพวกเขา เมื่อจะทำการลงทุน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่า ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญเป็นประโยชน์ในกระบวนการตัดสินใจทางการเงินการลงทุน
การศึกษานี้ดำเนินการผ่านชุมชนสำรวจที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Milieu Insight โดยนำเสนอความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติทางการเงินที่แพร่หลายในกลุ่มคนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรทางออนไลน์ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป โดยได้ดำเนินการจ้ดเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2024
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมและความเป็นมาของรายงาน โปรดไปที่ https://campaigns.mili.eu/southeast-asia-finance-and-investment-report